Supply Chain Management

คำจำกัดความ Supply Chain Management
(by The Council of Supply Chain Management Professional)

“Supply Chain Management encompasses “the planning and management of all activities involved in sourcing and procurement, conversion, and all Logistics Management activities. Importantly, it also includes coordination and collaboration with channel partners, which can be suppliers, intermediaries, third-party service providers, and customers. In essence, Supply Chain Management integrates supply and demand management within and across companies.”
การจัดการซัพพลายเชน คือ ประมวลการวางแผนและการจัดการกิจกรรมทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการเสาะหาและจัดหา การแปลงสภาพสินค้า และกิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ทั้งหมดที่สำคัญ รวมถึงการประสานงานและความร่วมมือกับช่องทางคู่ค้าตั้งแต่ผู้ค้า ตัวกลาง ผู้ให้บริการบุคคลที่สามจนถึงลูกค้า


เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นสามารถกล่าวได้ว่า SCM คือ ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors
เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบ ได้ตรงตามเวลาและความต้องการ


ผู้ส่งมอบ (Suppliers) หมายถึง ผู้ที่ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงานหรือหน่วยบริการ เช่น เกษตรกร ที่ปลูกมันสำปะหลังหรือปาล์ม โดยที่เกษตรกรเหล่านี้จะนำหัวมันไปส่งโรงงานทำแป้งมันหรือโรงงาน ทำกลูโคส หรือนำผลปาล์มไปส่งที่โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

โรงงานผู้ผลิต (Manufacturers) หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการแปรสภาพวัตถุดิบที่ได้รับ จากผู้ส่งมอบ ให้มีคุณค่าสูงขึ้น
ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers) หมายถึง จุดที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้า ไปให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งๆ อาจจะมีสินค้าที่มาจากหลายโรงงานการผลิต เช่น ศูนย์กระจายสินค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะมีสินค้ามาจากโรงงานที่ต่างๆกัน เช่น โรงงานผลิต ยาสระผม, โรงฆ่าสัตว์, เบเกอรี่ เป็นต้น
ร้านค้าย่อยและลูกค้าหรือผู้บริโภค (Retailers or Customers) คือจุดปลายสุดของ ซัพพลายเชน ซึ่งเป็นจุดที่สินค้าหรือบริการต่างๆ จะต้องถูกใช้จนหมดมูลค่าและโดยที่ไม่มีการเพิ่มคุณค่า ให้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ

กิจกรรมหลักในซัพพลายเชน
การจัดหา (Procurement) เป็นการจัดหาวัตถุดิบหรือวัสดุที่ป้อนเข้าไปยังจุดต่างๆ ในสายของซัพพลายเชน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะส่งผลต่อคุณภาพและต้นทุนการผลิต
การขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าของสินค้าในแง่ของการย้ายสถานที่ เช่น หากน้ำมันปาล์มประกอบอาหารถูกขายอยู่ที่หน้าโรงงานผลิตอาจจะไม่มีลูกค้ามาซื้อเลยก็ได้ อีกประการหนึ่งก็คือ หากการขนส่งไม่ดี สินค้าอาจจะได้รับความเสียหายระหว่างทางจะเห็นว่าการขนส่ง ก็มีผลต่อต้นทุนโดยตรง
การจัดเก็บ (Warehousing) เป็นกิจกรรมที่มิได้เพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าเลย แต่ก็เป็นกิจกรรม ที่ต้องมีเพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ไม่คงที่ รวมทั้งประโยชน์ในด้านของการประหยัดเมื่อมีการผลิตของจำนวนมากในแต่ละครั้ง หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีปริมาณวัตถุดิบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ ฤดูกาลและสภาพลมฟ้าอากาศ
การกระจายสินค้า (Distribution) เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระจายสินค้าจากจุดจัดเก็บส่งต่อไป ยังร้านค้าปลีกหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

CRM

CRM หรือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
โดยการใช้เทคโนโลยีและบุคลากรอย่างมีหลักการครอบคลุม ระบบการ
บริหารการขาย ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ ระบบรองรับบริการลูกค้า
และระบบลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งการนำระบบ CRM มาใช้จะช่วยให้ลูกค้า
เกิดทัศนคติด้านบวก (Positive Attitude) ต่อธุรกิจ ก่อให้เกิดการใช้ซ้ำ
และความภักดี (Royalty) ต่อสินค้า/บริการ ตลอดไป

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของ CRM
1. การสนับสนุนและให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากผู้บริหารระดับสูง
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำมาใช้งานที่สามารถประเมินได้
3. Business Process ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
4. การกำหนดลักษณะของตลาด กลุ่มลูกค้า และคู่แข่งขัน
5. การประเมินผลประสิทธิภาพของพนักงาน
6. การประเมินความสามารถขององค์กรว่าจะปรับเปลี่ยนการทำงานในส่วนใดบ้าง
7. การวิเคราะห์และ Reengineering ใน Process ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยน
การทำงานให้เหมาะสมได้
8. การมีส่วนร่วมและรับรู้แผนงานของพนักงาน
9. การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
10. Solution ที่เหมาะสม
11. Plan Implementation
12. Implement ในเรื่องที่จะทำให้ธุรกิจก้าวเร็ว
13. Implement ร่วมกับบริษัทที่ขายระบบ
14. การ Monitor เพื่อตรวจสอบระบบตลอดเวลา

ประโยชน์ของ CRM
1. ช่วยในการพัฒนาสินค้าและ/หรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
เนื่องจากมีข้อมูลของลูกค้าด้านต่าง ๆ เช่น Customer Profile,

Customer Behavior เป็นต้น
2. ช่วยให้วางแผนทางการตลาดและการขายอย่างเหมาะสมและ
มีประสิทธิภาพ
3. สามารถนำข้อมูลมาสร้างกลยุทธ์ของธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาส
ในการแข่งขันได้
4. ลดการทำงานที่ซับซ้อน
5. ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
6. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด

เทคโนโลยีที่ Support การทำงานของ CRM
1. Hardware ประกอบด้วย
- แบบ Client/Server หรือ Host-Based
- Network and Remote Access
- The Size of the Application
2. Software ประกอบด้วย
- Client/Server หรือ Host-Based Software
- Information Management การใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล
ของโปรแกรม
- Integration ความสามารถในการเชื่อมโยงกับโปรแกรมหรือระบบอื่น
ขององค์กร และความยากง่ายในการทำงาน
- Configurability การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของระบบสามารถทำ
ได้หรือไม่ ระดับใด และใครเป็นผู้ทำ

และปัจจุบันการดำเนินธุรกิจแบบ E-Business ทำให้เกิด eCRM
ซึ่งต้องรวมถึง Internet และ Intranet ในการปฏิบัติงานที่เป็น
มาตรฐานไว้ด้วยกัน Software CRM สนับสนุนการทำงาน 2 ส่วน
คือ ส่วนปฏิบัติงาน (Operational) และส่วนวิเคราะห์ (Analytical)

จะทำงานประสานกัน โดยอาศัยข้อมูลจากมาร์ทข้อมูล (Data Mart)
คลังข้อมูล (Data Warehouse) และเหมืองข้อมูล (Data Mining)

-------------------------------------------------------------








E-Learning

e-learning มีข้อดี/ข้อเสียอย่างไร ???

ข้อดี
1. ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีสื่อการสอนหลายรูปแบบ
2. ผู้เรียนสามารถจัดตารางเวลาเรียนของตนเองได้ เพราะสามารถเข้าถึงระบบ

ได้ตลอดเวลา
3. ไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน
4. มีความเป็นส่วนตัว ทำให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
5. ไม่จำกัดสถานที่ในการเรียนรู้
6. เนื้อหาการเรียนการสอนเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าผู้เรียนจะเป็นใคร
7. หากผู้สอนจะปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอนก็สามารถทำได้

ข้อเสีย
1. หากรูปแบบที่นำเสนอไม่น่าสนใจ ก็ไม่อาจจูงใจให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาได้
2. ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

เพราะเป็นการเรียนรู้เฉพาะบุคคล
3. ผู้เรียนไม่สามารถได้คำตอบจากการซักถามในเรื่องที่สงสัยในทันที
4. ผู้เรียนต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และทักษะการใช้งาน


ประโยชน์ที่สถานศึกษาจะได้รับจากระบบ e-learning

1. ไม่ต้องจัดสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน
2. สามารถรองรับผู้เรียนได้ไม่จำกัดจำนวน
3. ประหยัดต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระหว่างการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน